Thailand law firm with Thai lawyers: Company law, contracts, divorce, prenuptial agreements, marital law, marriage, last will and testament, adoption, guardianship, land purchase, land lease, buying condos, mortgage, USA immigration visa, US visa, fiance visa, K1 visa, K-1 visa.

Chaninat & Leeds: Confidence is a good lawyer
 
 
   
 
     
 
 
Thailand law firm providing legal advice on Company law, contracts, divorce, prenuptial agreements, marital law, last will and testament, probate, adoption, guardianship, land purchase, land lease, buying condos, mortgage, usa immigration visa, US visa, fiance visa, fraud, patent, PCT, trademark, copyright

Chaninat & Leeds


 


คำถามเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท (Business Registration)

การประกอบธุรกิจแบบใดบ้างที่มีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยได้?

ในการจดทะเบียนการค้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. การจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นไปตามกฎหมายได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทจำกัดมหาชน และองค์กรธุึุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ 2. การจดทะเบียน ที่ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนตาม พรบ. ทะัเบียนพาณิชย์) ได้แก่ กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งการที่จะ ตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของ กิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จและนำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุด

การประกอบธุรกิจแบบไหนที่คนต่างด้าวสามารถเป็นเจ้าของได้มากที่สุด?

บริษัทจำกัด

คนต่างด้าวสามารถถือหุ้นบริษัท 100% ในประเทศไทยได้หรือไม่?

ธรรมดาแล้ว คนต่างด้าวสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ส่วนคนต่างด้าวถือหุ้น 100% ก็คือเป็นบริษัทต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ก่อนหน้านี้รู้จักกันในนามของกฎหมายว่าด้วยธุรกิจของคนต่างด้าว จำกัดธุรกรรมของคนต่างด้าวโดยแบ่งเป็น 3 ประเภท 1) เป็นธุรกิจที่ไม่เปิดให้กับคนต่างด้าว 2) และ 3) เป็นธุรกิจที่คนต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตเพื่อที่จะเป็นเจ้าของกิจการนั้นได้

มีทางเป็นไปได้หรือไม่ที่คนต่างด้าวจะเป็นเจ้าของธุรกิจประเภทอื่นๆ ?

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจบางเประเภท และบางประเภทจะประกอบธุรกิจได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองแล้วแต่กรณี นอกจากนี้คนอเมริกันได้การยกเว้นจากกฎต้องห้ามหลาย ๆ ข้อ เนื่องมาจากผลของ สัญญาทางไมตรีและการค้าระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา พ.ศ.2509 ("Amity Treaty”)

อะไรคือสัญญาทางไมตรี "Amity Treaty" ?

สัญญาทางไมตรีใช้ได้กับคนอเมริกันและคนเหล่านี้ได้รับการยกเว้นจากกฏข้อบังคับบางอย่างจากพระราขบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ซึ่งทำให้คนอเมริกันได้รับสิทธิพิเศษในการประกอบธุรกิจในประเทศไทยซึ่งโดยปกติถุกต้องห้าม สำหรับบริษัทสัญชาติอเมริกันพวกเขาอาจจะยังคงถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยได้ในธุรกิจที่จดทะเบียนผ่านสัญญาทางไมตรีไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) แต่คนเหล่านั้นน่าจะไปจดทะเบียนเพื่อรักษาผลประโยชน์เอาไว้ มิฉะนั้นธุรกิจเหล่านั้น เช่น list one (แบบที่ 1) และนักสิทธิเสรีอาจจะถูกต้องห้ามแม้จะเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Amity Treaty)